Tinkerbell Yellow Glitter Wings

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

work5.1

ยาสูบ + ข่า = ยาปราบศัตรูพืช
 
 
 
 
ใบยาสูบ
 
 
 
ยาสูบ ชื่อสามัญ Tobacco
ยาสูบ ชื่อวิทยาศาสตร์ Nicotiana tabacum L. จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ (
SOLANACEAE) สมุนไพรยาสูบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ยาซูล่ะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ยาซุ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), เกร๊อะหร่าเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ยาออก (ลั้วะ), สะตู้ (ปะหล่อง), จะวั้ว (เขมร-สุรินทร์) เป็นต้น

ลักษณะของต้นยาสูบ
  • ต้นยาสูบ มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกา จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุเพียงปีเดียว ลำต้นไม่แตกกิ่งก้านสาขา มีความสูงประมาณ 0.6-2 เมตร ตามลำต้นและยอดมีขนที่อ่อนนิ่มปกคลุมอยู่ และทุกส่วนของต้นมีต่อมน้ำยางเหนียว ต้นยาสูบเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่ต้องการความชื้นปานกลาง[1],[2],[3],[5]

  • ต้นยาสูบ

    • ใบยาสูบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับหรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบแคบหรือสิบเรียวและแทบจะไม่มีก้านใบ ส่วนขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 10-20 เซนติเมตรและยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวมีขนาดใหญ่และหนา ท้องใบและหลังใบมีขนอ่อน ๆ ปกคลุมอยู่

    ใบยาสูบ
    • ดอกยาสูบ ออกดอกเป็นช่อยาวขึ้นไป โดยจะออกตรงส่วนของปลายยอด โดยดอกจะบานจากส่วนล่างไปหาส่วนบนตามลำดับ ดอกย่อยเป็นสีชมพูอ่อนเกือบขาวหรือเป็นสีแดงเรื่อ ๆ มีกลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายกลีบแหลม มีขนสีขาวปกคลุม ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกแหลมและมีขน ดอกมีความสวยงามน่าชมมาก
    ดอกยาสูบ
    ดอกต้นยาสูบ
    • ผลยาสูบ ผลเป็นผลแห้งแบบแคปซูล ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนาน ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแตกออกได้ ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก
    ผลยาสูบ

    ประเภทของยาสูบ

    แบ่งตามกรรมวิธีการบ่มยาได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ใบยาบ่มไอร้อน (ได้แก่ ใบยาเวอร์จิเนีย), ใบยาบ่มแดด (ได้แก่ ใบยาเตอร์กิช), และใบยาบ่มอากาศ (ได้แก่ ใบยาเบอร์เลย์, ใบยาแมรี่แลนด์) โดยพันธุ์ยาสูบที่นิยมปลูกในประเทศไทยคือสายพันธุ์เวอร์จิเนียร์ (ชนิดบ่มไอร้อน) และสายพันธุ์เตอกิช (ชนิดบ่มแดด) และการนำมาผลิตจะใช้ใบยาเวอร์จิเนียมากที่สุดคือร้อยละ 68 ส่วนใบยาเบอร์เลย์และเตอร์กิชจะใช้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
    • ใบยาเวอร์จิเนีย (Virginia) – ลักษณะของใบยาจะแห้งเป็นสีเหลืองหรือส้ม มีปริมาณนิโคตินต่ำถึงปานกลาง มีน้ำตาลในใบยาแห้งสูง เป็นใบยาที่มีคุณภาพดีและมีกลิ่นหอมคล้ายน้ำผึ้ง แหล่งเพาะปลูก ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน หนองคาย และนครพนม
    • ใบยาเตอร์กิช (Turkish or Oriental) – ลักษณะของใบยาจะแห้งเป็นสีเหลืองหรือสีส้มอมน้ำตาล ใบมีขนาดเล็ก มีปริมาณนิโคตินน้อย มีน้ำตาลปานกลาง มีกลิ่นหอมเพราะมีน้ำมันหอมระเหยสูง แหล่งเพาะปลูก ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และนครพนม
    • ใบยาเบอร์เลย์ (Burley) – ลักษณะของใบยาจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลแก่ มีปริมาณนิโคตินสูง มีน้ำตาลน้อยมาก เป็นใบยาที่มีคุณภาพดีมีกลิ่นหอมคล้ายโกโก้ มีน้ำหนักเบา คุณภาพในการบรรจุมวนดี โครงสร้างโปร่งดูดซึมน้ำหอมน้ำปรุงได้ดี แหล่งเพาะปลูก ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ สุโขทัย หนองคาย และนครพนม
    https://medthai.com/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%9A/
    ส่วนที่ใช้ ใบอ่อน ใบแก่
    สารสำคัญ ในใบมีอัลคาลอยด์ นิโคติน (nicotine) C10 H14 N2 อยู่ 0.6-9% เป็นอัลคาลอยด์ พวก Pyridine มีลักษณะเป็น oily, volatile liquid ไม่มีสีจนถึงมีสีเหลือง ถ้าถูกอากาศอาจเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล มีกลิ่นเผ็ดร้อน และกัดเนื้อเยื่อจมูกถ้าสูดดม มีสารที่จะทำให้เกิดมีกลิ่นหอม มีชื่อว่า “nicotianin” หรือ “tobacco camphor” จะเกิดสารตัวนี้ขึ้นเมื่อนำใบยาไปบ่ม
    ประโยชน์ทางยา ในยาแผนโบราณ ใช้ยาตั้งผสมกับนํ้ามันก๊าดใส่ผมที่เป็นเหา ทิ้งไว้ครึ่งชั่วโมง สระออกให้ทำวันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 2-3 วัน ตัวเหาจะตายไข่จะฝ่อหมด ระวังอย่าให้เข้าตาจะทำให้ตาอักเสบ
    อื่นๆ ใบอ่อนใช้ทำซิการ์ ใบแก่ทำยาเส้น ยาตั้ง หรือยาฉุน ใบที่ไม่อ่อนและไม่แก่เกินไปใช้มวนบุหรี่ ยาเส้นใช้ผสมในยานัตถุ์
    ผงของใบยา ใช้เป็นสารฆ่าแมลงพวกเพลี้ยได้ผลดี โดยเตรียมนํ้ายาให้เป็นด่าง จะมีฤทธิ์ในการฆ่าแมลงดีขึ้น ชาวบ้านใช้ใส่น้ำสบู่ลงไป ปัจจุบันการใช้เป็นสารฆ่าแมลงลดลง เนื่องจากมีสารสังเคราะห์ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าแมลงได้ดี แต่มีสารพิษตกค้างอยู่ทำให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค การใช้ใบยาสูบสกัดให้ได้ 40 เปอร์เซ็นต์ของนิโคตินใช้เป็นสารฆ่าแมลงที่ให้ผลดี

     
    ข่า

     
      ข่า เป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุยืนนานหลายปี ลำต้นลงหัวอยู่ใต้ดิน ลักษณะภายนอกของลำต้นมีข้อ และปล้องเห็นได้ชัดเจน อยู่ใต้ดินส่วนที่เหนือดินจะเป็นก้านและใบ สูงประมาณ 1-2 เมตร พืชชนิดนี้จะเป็นที่รู้จักกัน เป็นอย่างดี เพราะได้มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการปรุงอาหารรับประทาน



    ชื่อสามัญ           Galanga ชื่อวิทยาศาสตร            Alpinia galanga SW. วงศ์            Zingiberraceae ชื่ออื่น       ชื่อท้องถิ่น ข่าตาแดง / ข่าหยวก (เหนือ) / ข่าหลวง
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
    ไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตร เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน ใบ  เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก  ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล  เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม
    สารสำคัญที่พบ
    เหง้าสดมีน้ำมันหอมระเหย (Volatile oil) ซึ่งประกอบด้วยสารเมททิล-ซินนาเมต (Methyl-cinnamate) ซีนิออล (Cineol)การบูร (Camphor) และยูจีนอล (Eugenol